• สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
    • เกี่ยวกับหน่วยงาน
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
  • บุคลากร
  • ข้อมูลพื้นฐาน
    • สถิติการปลูกพืช
    • ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร
  • แผนงานโครงการ
    • แผนงาน แผนเงิน แผนอบรม
  • ระบบส่งเสริมการเกษตร
    • แผนปฏิบัติงานสำนักงานเกษตรอำเภอประจำปี
    • แผนเยี่ยมเยียนรายบุคคล(Visit 1)
    • แผนเยี่ยมเยียนรายทีม(Visit 2)
    • แผนเยี่ยมเยียน (Visit 3)
    • รายงานการประชุม (DM)
  • งานนโยบายของรัฐบาล/กระทรวง
    • งาน ศพก.ระดับอำเภอ
    • งานแปลงใหญ่ระดับอำเภอ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ภาพข่าวกิจกรรม
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • คลังความรู้
    • KM
  • ระบบสถาบันเกษตรกร
    • ข้อมูลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
    • ข้อมูลกลุ่มยุวเกษตรกร
    • ข้อมูลกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
    • SF
    • YSF
    • ข้อมูลรายชื่อวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย
  • เว็บไซต์เชื่อมโยงหน่วยงาน
    • Weblink ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็นมา

อำเภอบ้านโฮ่ง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลำพูน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร แยกออกเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2460 และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2499

อำเภอบ้านโฮ่งเดิมมีฐานะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอป่าซาง แยกเป็นกิ่งอำเภอบ้านโฮ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2460 และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ในสมัยพระเจ้ากาวิละฟื้นฟูบ้านเมืองได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียงมาไว้ที่เมืองลำพูน โดยตั้งเมืองลำพูนขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2348 ส่วนทางเมืองยองเองเจ้านายของเมืองยองก็ไม่คิดขึ้นกับล้านนาแต่ยังยินยอมสวามิภักดิ์กับพม่าพาผู้คนจำนวนหนึ่งกลับไปตั้งเมืองใหม่เป็นเมืองยองสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในการฟื้นฟูเชียงใหม่นั้นพระเจ้ากาวิละได้เทครัวคนจากเมืองอื่นๆมาหลายครั้ง สำหรับชาวยองมีการเทครัวลงมาจากเมืองยองราว พ.ศ. 2351-2353 และ พ.ศ. 2356 หลังจากนั้นก็ยังมีอีกแต่ไม่เด่นชัด

การอพยพผู้คนมายังล้านนา พวกเจ้าก็จะให้อยู่ในเมืองพร้อมไพร่ที่คอยรับใช้บางส่วน ไพร่ที่ถูกกวาดต้อนมา หากเป็นช่างฝีมือหรือไพร่ชั้นดีกำหนดให้อยู่ในเมือง เช่น กลุ่มไทใหญ่มีฝีมือในการปั้นหม้อให้อยู่บริเวณ ช้างเผือก ช้างม่อย วัวลาย (ในตัวเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน) ส่วนไพร่ไร้ฝีมือจะให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเมืองเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ยองที่ลำพูนและสันกำแพง เมื่อตั้งถิ่นฐานแล้วสักระยะหนึ่งชุมชนขยายใหญ่ขึ้นก็เกิดการกระจายตัวออกจากเวียงยองสู่ป่าซางและบ้านโฮ่ง พวกที่มาตั้งถิ่นฐานใหม่จะตั้งชื่อบริเวณที่ตนมาอยู่อาศัยใหม่ตามชื่อหมู่บ้านเดิมที่ถูกกวาดต้อนลงมา แต่บางแห่งก็ตั้งชื่อตามลักษณะทางกายภาพของทำเลที่ตั้งใหม่ [1]

ผู้บริหาร

ข่าวล่าสุด

  • ประชุมประจำเดือนกันยายน
  • เปิดโครงการตลาดท้องถิ่นประชารัฐ เพื่อสุขภาพ “ตลาดนัดสีเขียว”
  • ลงพื้นที่ขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 65/66
  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ
  • เกษตรอำเภอบ้านโฮ่ง เข้าร่วมประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ครั้งที่ 9/2565

RSS ข่าวสารเกษตร

  • รองกฤษ ลงพื้นที่เมืองโมจิเยี่ยมพี่น้องเกษตรกรศูนย์ข้าวชุมชนบ้านน้ำสาดเหนือ
  • ประกาศคณะกรรมการคัดเลือกเทพีคู่หาบเงิน ประจำปี 2566
  • ชป.เชิญชมนิทรรศการ “กรมชลประทาน 6 รัชกาล งานของแผ่นดิน”

RSS การปฎิบัติการฝนหลวง

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 2023 . Powered by WordPress